การศึกษาออนไลน์ / ศูนย์รับสมัคร
นักศึกษามหาวิทยาลัยเวสเทิร์น
ตรัง ภูเก็ต
  • เฉลิมพระชนมพรรษา
  • ปั่น
  • 1
  • Provillage
Date Post 05-08-2022

Depa ร่วมกับจังหวัดตรังและสภาอุตสาหกรรมในพื้นที่ภาคใต้ เปิดตัวโครงการส่งเสริมและสนับสนุนผู้ประกอบการเกษตรท่องเที่ยว และผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริการ ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ยกระดับประสิทธิภาพการดำเนินธุรกิจผ่านมาตรการ (depa mini Transformation Voucher ) เตรียมพร้อมรับมือการเปลี่ยนผ

ที่โรงแรมเรือรัษฎา อ.เมืองตรัง นายภูวนัฐ สมใจ รองผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง นายประชา อัศวธีระ ผู้อำนวยการเขตพื้นที่ภาคใต้ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล นายพรชัย หอมชื่น ผู้ช่วยผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล นายกิจก้อง ตันติจรัสวโรดม รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เป็นประธานร่วมแถลงข่าว โครงการส่งเสริมและสนับสนุนผู้ประกอบการเกษตรท่องเที่ยว และผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริการ ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลยกระดับประสิทธิภาพการดำเนินธุรกิจผ่านมาตรการ (depa mini Transformation Voucher) เตรียมพร้อมรับมือการเปลี่ยนผ่านธุรกิจสู่ยุคดิจิทัลอย่างยั่งยืน

นายภูวนัฐ สมใจ รองผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง กล่าวว่า ความร่วมมือเพื่อ การส่งเสริมและสนับสนุนผู้ประกอบการเกษตรท่องเที่ยวและผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริการ ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการดำเนินธุรกิจให้กับผู้ประกอบการในพื้นที่ภาคใต้ พร้อมรองรับบรรยากาศการท่องเที่ยวหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เริ่มคลี่คลาย อีกทั้งสนองตอบนโยบายการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ (Smart City) จากภาครัฐที่มุ่งหวังให้เป็นกลไกสำคัญในการกระจายความเจริญอย่างเท่าเทียมและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ทั้งนี้แผนการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะของจังหวัดตรัง ปัจจุบันเมืองศรีตรัง จังหวัดตรัง นับเป็น 1 ใน 15 เมืองแรกที่ได้รับตราสัญลักษณ์เมืองอัจฉริยะจากคณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ

ขณะที่นายพรชัย หอมชื่น ผู้ช่วยผู้อำนวยการใหญ่ (กลุ่มงานกิจการสาขา) ดีป้า กล่าวว่า ในฐานะหน่วยงานหลักของประเทศในการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลดีป้าจึงได้ร่วมกับจังหวัดตรังและพื้นที่ใกล้เคียงผลักดันให้เกิดการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลมาใช้ประโยชน์ โดยเฉพาะผู้ประกอบการเกษตรท่องเที่ยว และในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริการ ซึ่งมีความสำคัญและช่วยสร้างรายได้ให้กับจังหวัด

โดยความร่วมมือในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะส่งเสริมให้ผู้ประกอบการเกษตรท่องเที่ยวรวมถึงผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริการสามารถเลือกประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลจากเครือข่ายดิจิทัลสตาร์ทอัพที่ขึ้นทะเบียนกับ ดีป้า ในรูปแบบการจับคู่ธุรกิจ (Business Matchinbg)ภายใต้มาตรการคูปองดิจิทัล เพื่อการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม ซึ่งกลุ่มเป้าหมายจะสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัลได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และเกิดความมั่นใจในการได้รับเทคโนโลยีดิจิทัลที่ได้มาตรฐาน

ทางด้าน นายกิจก้อง ตันติจรัสวโรดม รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ในฐานะประธานกิตติมศักดิ์สภาอุตสาหกรรมภาคใต้ กล่าวว่า ปัจจุบันเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลมีความสำคัญอย่างมากโดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรมที่จำเป็นต้องปรับตัวให้ทันต่อความเปลี่ยนแปลง และนำเทคโนโลยีดิจิทัลนั้นมาประยุกต์ใช้เพื่อลดต้นทุน สร้างโอกาส และรายได้ในภาวะเศรษฐกิจหลังสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลาย โดยสภาอุตสาหกรรมในพื้นที่ภาคใต้มีความยินดีที่ได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของโครงการดังกล่าว เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับผู้ประกอบการในกลุ่มเกษตรท่องเที่ยว และผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริการภาคใต้ อีกทั้งส่งเสริมให้เกิดกลไกหมุนเวียนในการสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ เพื่อขับเคลื่อนประเทศอย่างยั่งยืนต่อไป